Connect with us

Education

6 กรกฏาคม 2428 หลุยส์ ปาสเตอร์ ประสบความสำเร็จ ในการทดสอบ วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า

Published

on

นักเคมีและนักจุลชีววิทยา ชาวฝรั่งเศส ผู้ค้นพบปรากฏการณ์สำคัญ หลายประการ
ช่วยพัฒนาองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ให้เกิดประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติ

หลุยส์ ปาสเตอร์ (27 ธันวาคม ค.ศ. 2365 – 28 กันยายน ค.ศ. 2438)

หลุยส์ ปาสเตอร์ เป็นนักเคมีและนักจุลชีววิทยา ชื่อดัง ชาวฝรั่งเศส เกิดที่เมืองโดล ประเทศฝรั่งเศส
บิดาเป็นช่างฟอกหนังชื่อว่า จีน โจเซฟ ปาสเตอร์ (Jean Joseph Pasteur) เคยเป็นทหารในกองทัพของ
พระเจ้านโปเลียนมหาราช ได้รับเหรียญกล้าหาญจากสงคราม
ต่อมาครอบครัวของ ปาสเตอร์ ได้ย้ายมาอยู่ที่เมืองอาร์บัวส์ (Arbors)
แม้ว่าฐานะครอบครัวของเขาจะมีฐานะไม่ดีนัก แต่บิดาก็ต้องการให้หลุยส์มีความรู้ การศึกษาขั้นแรกของปาสเตอร์เริ่มต้นที่โรงเรียนประจำจังหวัดอาร์บัวส์ นอกจากชื่นชอบในวิชาวิทยาศาสตร์แล้ว หลุยส์มีความสามารถในการวาดรูป โดยเฉพาะภาพเหมือน(Portrait) ผลงานรูปเหมือนที่ปาสเตอร์ได้วาดเอาไว้ ได้แก่ ภาพบิดา มารดา และเพื่อน ๆ ของเขา เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันภาพเหล่านี้ได้ถูกแขวนประดับไว้ในสถาบันปาสเตอร์ ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
ด้วยความที่เป็นนักเรียนที่เรียนดี มีความสามารถ และความประพฤติเรียบร้อย จึงได้รับการสนับสนุนจากอาจารย์ใหญ่ของวิทยาลัยอาร์บัวส์ ให้ไปเรียนต่อที่ อีโคล นอร์เมล ซูพีเรีย (Ecole Normale Superiere)
ซึ่งเป็นสถาบันฝึกหัดครูชั้นสูง ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในกรุงปารีส เพราะอาจารย์ใหญ่คาดหวังให้เขา กลับมาเป็นอาจารย์ที่วิทยาลัยอาร์บัวส์ แต่ปาสเตอร์เรียนอยู่ที่นี่ได้ไม่นาน บิดาก็ต้องมารับกลับบ้าน ด้วยเขาป่วยเป็นโรคคิดถึงบ้าน (Home Sick) อย่างรุนแรง ซึ่งอาจจะถึงขั้น เป็นโรคประสาท ได้

ภาพจาก Getty Image

ต่อมา เขาได้กลับมาเข้าเรียนต่อในวิชาอักษรศาสตร์ ที่ รอยัลคอลเลจ (Royal College) ในเบซานกอน (Besancon) หลังจากจบการศึกษาแล้ว ปาสเตอร์ได้ศึกษาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ อีกระยะนึง
ก่อนที่ต่อมา ปาสเตอร์ จะเดินทางไปศึกษาต่อที่สถาบันฝึกหัดครูชั้นสูง Ecole Normale Superiere
อย่างที่เขาตั้งใจในครั้งแรก

ในระหว่างที่เขาศึกษาอยู่ที่นี่เขามีโอกาสได้เรียนกับนักเคมีผู้มีชื่อเสียง 2 ท่าน คือ เจ.บี. ดูมาส์ (J.B. Dumas) และ เอ.เจ. บาลาร์ด ซึ่งสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ (Sorbonne University) เนื่องจากมีบางวิชาที่ต้องไปเรียน
ที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ในช่วงปีสุดท้ายของการศึกษาที่ อีโคล นอร์เมล ซูพีเรีย
เมื่อได้มาเรียนที่นี่ เขายังได้ทำการทดลองเกี่ยวกับกรดทาร์ทาริก หรือกรดปูน ที่ใช้ทำน้ำส้ม
(Tartaric acid) จากผลงานการทดลองชิ้นนี้ในปี พ.ศ. 2392 ทำให้เขาได้รับเชิญ
จากมหาวิทยาลัยสตราส์เบิร์ก (Strasburg University) ให้ไปดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ เพื่อสอนวิชาเคมี

ในปี พ.ศ. 2397 ปาสเตอร์ได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยแห่งเมืองลิลล์ (University of Lille) ให้ดำรงตำแหน่ง
ศาสตราจารย์วิชาเคมีและคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ด้วยความที่เมืองลิลล์เป็นเมืองอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งมีทั้งเหล้า เบียร์ และไวน์ ครั้งหนึ่งปาสเตอร์ได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชมโรงงานทำแอลกอฮอล์

ภาพจาก 2067385.jpg (610×432) (wp.com)

จากน้ำตาลหัวผักกาดแห่งหนึ่ง ทำให้เขารู้ปัญหาของโรงงานที่ว่าเกิดการเน่าเสียของแอลกอฮอล์ และยังไม่สามารถหาสาเหตุได้ ดังนั้นปาสเตอร์จึงอาสานำตัวอย่างแอลกอฮอล์ไปตรวจสอบ
ในขณะนั้นมีนักวิทยาศาสต์ท่านหนึ่งสามารถประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ได้สำเร็จ เขาจึงนำกล้องจุลทรรศน์มาใช้ในการตรวจสอบในครั้งนี้ด้วย จากผลการศึกษาพบว่า ในส่วนแรกเป็นแอลกอฮอล์ที่ดีเมื่องใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดูปรากฏว่า มีแบคทีเรียชนิดหนึ่งลำตัวกลมมีชื่อว่า ยีสต์(Yeast) ซึ่งมีฤทธิ์เปลี่ยนน้ำตาลให้กลายเป็นแอลกอฮอล์
และได้พบแบคทีเรียอีกชนิดหนึ่งมีรูปร่างเป็นท่อน ๆ แบคทีเรียชนิดนี้มีชื่อว่า บาซิลลัส (Bacillus)
ซึ่งมีฤทธิ์สามารถเปลี่ยนน้ำตาลแดงให้เป็นกรดแลคติคได้ และพบว่า นี่เป็นตัวการ ที่ทำให้แอลกอฮอล์มีคุณภาพต่ำ จากการค้นพบครั้งนี้ทำให้ปาสเตอร์เริ่มทำการทดลองเกี่ยวกับของหมักดอง ในที่สุดปาสเตอร์ได้พบว่า
การหมักดองทำให้เกิด กรดขึ้น 2 ชนิด
ได้แก่ กรดซักซินิก (Succinic acid) และกลีเซอร์ไรน์ (Glycerin)
การค้บพบครั้งนี้มีประโยชน์อย่างมากในวงการอุตสาหกรรมและเป็นการบุกเบิกการค้นคว้าหาสารเคมีชนิดต่าง ๆ มากขึ้น
ปาสเตอร์ได้ตั้งทฤษฎีการหมักดอง (Fermentation Theory) กล่าวว่า การหมักดองเป็นผลมาจากจุลินทรีย์

นอกจากหลุยส์ ปาสเตอร์ จะเป็นผู้ประกาศการค้นพบว่า “การเน่าและการหมัก” เกิดจากเชื้อโรคหรือจุลินทรีย์ บางชนิดโดยปาสเตอร์ ค้นพบปรากฏการณ์นี้ในระหว่างการศึกษาว่า เหตุใดเหล้าองุ่นจึงเสียรสขณะบ่ม แต่เมื่อนำเหล้าองุ่นไปอุ่นให้ร้อนแล้วจึงป้องกันไม่เหล้าองุ่นกลายเป็นน้ำส้มสายชูได้ ซึ่งกรรมวิธีนี้ ต่อมาได้พัฒนาเป็นการฆ่าเชื้อโรค โดยการใช้ความร้อนที่อุณหภูมิต่ำกว่า 100 องศา เพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ หรือที่เรียกว่า วิธีปาสเตอร์ หรือ กระบวนการพาสเจอร์ไรเซชัน (Pasteurization) ที่เราคุ้นเคยกันดีในปัจจุบัน
การค้นพบนี้ทำให้วิทยาศาสตร์สาขาวิชาจุลชีววิทยาโดดเด่นก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว

การทดลองที่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางของปาสเตอร์ อีกเรื่องนึงก็คือ เมื่อปี พ.ศ. 2424 มีการฉีด “วัคซีน”
ซึ่งทำจากเชื้อจุลินทรีย์บาซิลไล ซึ่งเป็นสาเหตุของ”โรคแอนแทรกซ์” โดยทำให้เจือจางลง แล้วฉีดเข้าไปในตัวของแกะและวัว โดยแกะและวัวที่ได้รับการฉีดวัคซีนดังกล่าว มีภูมิคุ้มกันสูงขึ้น สามารถต่อสู้กับ “โรคแอนแทรกซ์” ได้

ในปี พ.ศ. 2431 หลุยส์ ปาสเตอร์ ได้ก่อตั้งสถาบันปาสเตอร์ (Pasteur Institute) ขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
ทำการศึกษา ค้นคว้า วิจัย เพื่อหาวิธีต่อสู้กับ “โรคพิษสุนัขบ้า” หนึ่งในโรคร้ายแรงในสมัยนั้น
จากนั้นสถาบันปาสเตอร์ก็ได้ก่อตั้งสาขาขึ้นอีกหลายแห่ง ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทยด้วย
โดยสาขาในประเทศไทยใช้ชื่อว่า สถานเสาวภา
หลุยส์ ปาสเตอร์ ได้ทำงานประจำในสถาบันนี้ จนวาระสุดท้ายของชีวิต
หลุยส์ ปาสเตอร์ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 2438

ภาพจาก Fichier:Hôpital de l’Institut Pasteur, 213 rue de Vaugirard, Paris 15e.jpg — Wikipédia (wikipedia.org)

ปัจจุบัน สถาบันปาสเตอร์ ยังคงเป็นสถาบันวิจัยที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ยังคงทำงานวิจัย
ด้านจุลชีววิทยา อย่างต่อเนื่อง การค้นพบเชื้อไวรัสเอชไอวี ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเอดส์
ก็ถือเป็นผลงานชิ้นสำคัญของสถาบัน

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Click to comment

You must be logged in to post a comment Login

Leave a Reply

Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: