แรงระเบิดก่อให้เกิดคลื่นสึนามิเข้าทำลายหมู่บ้าน 163 หมู่บ้านบนเกาะชวาและเกาะสุมาตรา
มีผู้เสียชีวิตจากกระเบิดในครั้งนี้มากกว่า 36,417 คน
กรากะตั้ว (Krakatoa) หรือ กรากาเตา (อ่านแบบอินโดนีเซีย : Krakatau) เป็นชื่อภูเขาไฟ
ตั้งอยู่บนเกาะชื่อเดียวกัน
ในอดีต พื้นที่ระหว่างเกาะชวาและเกาะสุมาตรายังเป็นทะเล ต่อมา เมื่อประมาณ 1,000,000 ปีก่อน
เปลือกโลกบริเวณนี้ได้แยกตัวออก ส่งผลให้แมกมาและธาตุภูเขาไฟจำนวนมากถูกพ่นออกมา
ต่อมาแมกมาก็เย็นลงจับตัวกันเป็นภูเขาใต้น้ำ หลายหมื่นปีต่อมา ธาตุภูเขาไฟเริ่มเย็นตัวลง
และจับตัวแข็งอยู่ใต้ทะเลเหนือภูเขาใต้น้ำเหล่านั้น และก็เกิดการทับถมอย่างต่อเนื่อง
จนกลายเป็นเกาะพ้นน้ำขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับเกาะชวากับเกาะสุมาตรา
คาดกันว่าภูเขาไฟในยุคนั้นระเบิดออกอย่างรุนแรงจนเกือบจะหายไปทั้งเกาะ
โดยส่วนของเกาะที่เหลืออยู่ปัจจุบันเรียกว่า เกาะลัง และเกาะเวอร์ลาเต็น ซึ่งเป็นเกาะ
ที่เรียงรายอยู่รอบ ๆ ภูเขาไฟ อานัก กรากะตั้วในปัจจุบันนั่นเอง
ภูเขาไฟกรากะตั้วในยุคนั้นมักจะเรียกขานกันว่า กรากะตั้วโบราณ (Ancient Krakatoa)
โดยหลังจากเหตุการณ์ในยุคนั้นไป ก็มีการประทุของภูเขาไฟบริเวณนี้อีกเป็นครั้งที่สอง
โดยครั้งนี้มีภูเขาไฟผุดขึ้นมาจากน้ำถึงสามลูก ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของเกาะภูเขาไฟ
ที่กำลังจะทำให้เกิดการระเบิดครั้งสำคัญในปี ค.ศ. 1883
เกาะกรากะตั้วในยุคต่อมา เป็นเกาะที่มีแนวเส้นภูเขาไฟพาดผ่านใจกลางเกาะ มีปล่องภูเขาไฟอยู่ด้วยกัน
บนเกาะรวมทั้งสิ้น 3 ปล่อง คือ ระกาตา อยู่ทิศใต้สุดของเกาะ, ปล่อง ดานัน อยู่กลางเกาะ
และปล่อง เพอร์โบอิวาตัน (เพอร์บัวตัน) อยู่ทางทิศเหนือของเกาะ
ระกาตา เป็นปล่องภูเขาไฟที่สูงที่สุดบนเกาะ มีความสูง 820 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง
หินภูเขาไฟและธาตุภูเขาไฟ ทำให้ฟื้นที่บนเกาะมีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะต่อการเกษตรกรรม
เกาะแห่งนี้เริ่มมีมนุษย์มาตั้งถิ่นฐานอยู่เมื่อประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล
มนุษย์กลุ่มแรกๆคือเกษตรกรที่มาทดลองถางป่าที่เกาะนี้เพื่อปลูกข้าวและพืชผลอื่น ๆ
แล้วได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จึงพากันตั้งรกรากอาศัยอยู่บนเกาะ เกาะนี้อยู่ไม่ไกลจากเกาะสุมาตรา
ซึ่งเป็นเกาะใหญ่ทางตะวันตกของอินโดนีเซีย ทำให้มีผู้คนมาตั้งรกรากมากขึ้น
จนเกาะแห่งนี้กลายเป็นเมืองแห่งหนึ่ง
ภูเขาไฟบนเกาะกรากะตั้วมีการระเบิดเล็ก ๆ น้อย ๆ อยู่เรื่อยๆการระเบิดแต่ละครั้งได้พ่นแร่ธาตุออกมา
ทำให้เกาะยิ่งอุดมสมบูรณ์ขึ้น ชาวบ้านจึงไม่ได้ตระหนักถึงภัยอันตรายของภูเขาไฟระเบิด
การระเบิดขนาดใหญ่ที่เคยเกิดขึ้นเท่าที่มีการบันทึกเอาไว้เกิดในตั้งแต่เมื่อ พ.ศ. 2224 (ค.ศ. 1681)
ซึ่งหลังจากนั้น ภูเขาไฟบนเกาะกรากะตั้วก็สงบมานานกว่า 200 ปี จนกระทั่ง
วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2426 (ค.ศ. 1883) พลังงานและแรงดันมหาศาลใต้เกาะภูเขาไฟกรากะตั้ว
ทำให้ภูเขาไฟเกิดการประทุขึ้นใหม่ เป็นครั้งแรกในรอบ 200 ปี จากบันทึกของผู้ที่เห็นเหตุการณ์ บอกว่า
การประทุครั้งนั้นมีเพียงปล่อง เพอร์โบอิวาตัน เท่านั้นที่ระเบิดและปล่อยขี้เถ้าออกมา แต่อย่างไรก็ตาม
การระเบิดได้ทำให้เกิดเป็นเสียงระเบิดดังรุนแรง และได้เกิดคลื่น Shockwave เมืองเคทิมบัง
ที่อยู่ห่างจากเกาะภูเขาไฟไปประมาณ 23 ไมล์ ก็รู้สึกได้ถึงคลื่นนี้ เถ้าถ่าน ควันไฟ อีกจำนวนมาก
ถูกพ่นออกมา ผู้คนที่อยู่บนเกาะต่างพากันประหลาดใจที่เห็นภูเขาไฟที่เงียบสงบมานาน
เกิดระเบิดขึ้น ต่อมาเหตุการณ์นี้ค่อยๆสงบลง และหลังจากนั้นภูเขาไฟก็มีการระเบิดเล็กๆน้อยๆ อีกหลายครั้ง
จนกระทั่งวันที่ 26 สิงหาคม 2426 (ค.ศ. 1883) ภูเขาไฟทั้งสามปล่องบนเกาะกรากะตั้ว
ได้เกิดระเบิดขึ้นอย่างรุนแรง ส่งผลให้ทั้งเกาะสั่นสะเทือน เถ้าถ่านฝุ่นควันปลิวไปทั่วท้องฟ้า
เกิดระเบิดขนาดกลางมาอีกหลายครั้ง ในคืนนั้น แม้ผู้ที่กำลังอยู่ในเรือที่อยู่ห่างจากกรากะตั้ว
ถึง 16 กิโลเมตร ก็ยังมองเห็นการระเบิดอย่างชัดเจน และรู้สึกได้ว่าน้ำทะเลรอบเรือร้อนขึ้นมาก
การระเบิดดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ผู้คนเริ่มล่องเรืออพยพออกจากเกาะ
ส่วนผู้ที่เลือกจะอยู่ในเกาะก็พยายามหาที่กำบังให้ปลอดภัยที่สุด โดยที่ไม่มีใครรู้เลยว่า
การระเบิดครั้งใหญ่ที่สุด รุนแรงที่สุด กำลังจะเกิดขึ้น ในไม่ช้า
วันที่ 27 สิงหาคม เป็นวันที่ภูเขาไฟกรากะตั้วนั้นได้เกิดระเบิดครั้งใหญ่ รุนแรงที่สุด แรงระเบิด
คร่าชีวิตทุกคนที่ยังอยู่บนเกาะ โดยภูเขาไฟบนเกาะได้ระเบิดอย่างรุนแรงต่อเนื่องรวมทั้งสิ้น 4 ครั้ง
ครั้งแรกเมื่อเวลา 5:30 น. ครั้งที่สองเมื่อ 6:44 น. แรงจากการระเบิด ทำให้เกิดสึนามิสูงกว่า 30 เมตร
ครั้งที่สามเมื่อเวลา 10:02 น. เกิดเสียงระเบิดที่ดังที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยได้ยินมา
และารระเบิดครั้งสุดท้าย เกิดขึ้นเมื่อเวลา 10:45 น.
เหตุการณ์ในครั้งนี้ ทำให้พื้นที่ร้อยละ 65.52 ของเกาะมีแต่เถ้าธุลีลอยสูงขึ้นไปถึง 80 กิโลเมตร
ในรัศมี 240 กิโลเมตรจากเกาะ ถูกเถ้าธุลีเหล่านั้นบดบังแสงอาทิตย์จนมืดมิดคล้ายตอนกลางคืน
เสียงระเบิดดังกึกก้องมาก จนเมือง ปัตตาเวีย ที่อยู่ห่างจากกรากะตั้วถึง 150 กิโลเมตร
ผู้คนยังต้องเอามืออุดหูกันเสียงระเบิด รวมถึงผู้คนที่อาศัยบน เกาะโรดริเกซ ซึ่งอยู่ห่างจาก
กรากะตั้วถึง 4,776 กิโลเมตร ก็ยังได้ยินจากการระเบิดเช่นเดียวกัน
ความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ สามารถตรวจจับได้ ถึงสหราชอาณาจักร
รวมแล้วมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้มากกว่า 36,417 คน หลังจากการระเบิดครั้งสุดท้าย
เกาะภูเขาไฟได้ถล่มลงไปในบ่อแม็กม่าที่ว่างเปล่า ทำให้เกาะเหลือพื้นที่เพียง 1 ใน 3
จากพื้นที่เดิมเท่านั้น ปล่อง เพอร์โบอิวาตัน กับปล่อง ดานัน ถูกทำลายและจมลงไปในทะเลทั้งหมด
เหลือเพียง ปล่องภูเขาไฟ ระกาตา ที่ถูกทำลายไปแล้วครึ่งหนึ่ง รวมถึงเกาะลัง
และ เกาะเวอร์ลาเต็น ที่เคยล้อมรอบเกาะภูเขาไฟเท่านั้น
“วงแหวนไฟ” แนวภูเขาไฟของโลก
“วงแหวนไฟ” ( Ring of Fire) เป็นบริเวณ
ในมหาสมุทรแปซิฟิกที่เกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดบ่อยครั้ง มีลักษณะเป็นเส้นเกือกม้า
ความยาวรวมประมาณ 40,000 กิโลเมตร และวางตัวตามแนวร่องสมุทร
แนวภูเขาไฟและบริเวณขอบแผ่นเปลือกโลก โดยมีภูเขาไฟที่ตั้งอยู่ภายในวงแหวนไฟทั้งหมด 452 ลูก
และเป็นพื้นที่ที่มีภูเขาไฟคุกกรุ่นอยู่กว่าร้อยละ 75 ของภูเขาไฟคุกรุ่นทั้งโลก
ภูเขาไฟที่มีชื่อเสียงที่ตั้งอยู่ในวงแหวนไฟ เช่น ภูเขาไฟบียาร์รีกา ประเทศชิลี, ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์ สหรัฐอเมริกา เคยเกิดการระเบิดครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 , ภูเขาไฟฟุจิ ประเทศญี่ปุ่น
ระเบิดครั้งล่าสุดเมื่อ ค.ศ. 1707, ภูเขาไฟปินาตูโบ ภูเขาไฟมายอน ภูเขาไฟตาอัล และภูเขาไฟกันลาออน
ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งภูเขาไฟปินาตูโบเคยเกิดระเบิดครั้งใหญ่ที่สุดเมื่อปี ค.ศ. 1991, ภูเขาไฟแทมโบรา
ภูเขาไฟเคลูด และภูเขาไฟเมราปี ประเทศอินโดนีเซีย; ภูเขาไฟลูอาเปทู ประเทศนิวซีแลนด์
และภูเขาไฟเอริบัส ทวีปแอนตาร์กติกา
ประเทศที่ตั้งหรือมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในแนววงแหวนไฟ ได้แก่ ประเทศเบลีซ โบลิเวีย บราซิล แคนาดา
โคลอมเบีย ชิลี คอสตาริกา เอกวาดอร์ ติมอร์-เลสเต เอลซัลวาดอร์ ไมโครนีเซีย ฟิจิ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น คิริบาส เม็กซิโก นิวซีแลนด์ นิการากัว ปาเลา ปาปัวนิวกินี ปานามา เปรู ฟิลิปปินส์
รัสเซีย ซามัว หมู่เกาะโซโลมอน ตองกา ตูวาลู และสหรัฐอเมริกา
You must be logged in to post a comment Login