Connect with us

Innovation & Technology

24 สิงหาคม 2538 บริษัทไมโครซอฟท์วางจำหน่าย ระบบปฏิบัติการ วินโดวส์ 95 อย่างเป็นทางการ

Published

on

เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นต่อจาก วินโดวส์ 3.1 เป็นรุ่นแรกที่วินโดวส์ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อผู้ใช้ทั่วไป
โดยมีคุณสมบัติเด่นคือได้รวมเอาการทำงานแบบ ดอส เข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการวินโดวส์
ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้สะดวกง่ายดายมากกว่าเดิม

ระบบปฏิบัติการ Windows 95 มีชื่อเต็มว่า “Microsoft Windows 95” คือ โปรแกรมควบคุม
ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ตั้งแต่แสดงผลบนจอภาพ ป้อนข้อมูลด้วยคีย์บอร์ด
หรือเม้าส์ เก็บข้อมูลตัวเลข อักษรหรือรูปภาพ ตลอดจนสั่งการทำงานออกมาทางเครื่องพิมพ์

ได้รับการพัฒนาต่อมาจากจากระบบ Windows 3.1 ให้มีประสิทธภาพเหนือกว่าเดิม เป็นการจำลองลักษณะ
การใช้งานคอมพิวเตอร์ ให้สัมพันธ์กับการใช้งานในสถานการณ์ในชีวิตจริงมากขึ้น ผู้ใช้จะมีความรู้สึกว่า
จอคอมพิวเตอร์ เป็นเสมือน ห้องส่วนตัว เพราะ บนจอภาพ มีลักษณะเหมือนโต๊ะทำงาน
จึงใช้ชื่อเรียกว่า” Destop” นอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบอื่นๆอีกเช่น จัดเก็บแฟ้มต่างๆ
อย่างเป็นระเบียบคล้ายกับ ตู้ใส่เอกสาร มีถังขยะที่ใช้ สำหรับทิ้งสิ่งของ
โทรศัพท์ติดต่อสื่อสารกับภายนอก เป็นต้น

ลักษณะการทำงานของระบบ วินโดวส์ 95 ที่แสดงบนหน้าจอ

โดยวิธีการใช้เครื่องมือเหล่านี้ยังคงทำงานได้เหมือนเดิม ลักษณะของรูปภาพแทนคำสั่ง
หรือที่เรียกว่า Icon ในระบบ Windows 95 ยังคงเอกลักษณ์เหมือนเดิม คือ จัดทำไว้เป็น
รูปภาพกับขัอความสั้นๆ เพื่อป้องกันความสับสนหรือ หลงลืม และส่วนที่เก็บเป็นรายการคำสั่ง
ก็ยังใช้แบบ Menu ให้เลือกได้อย่างสะดวก
อาจกล่าวไดัว่า ในแง่ความรู้สึกของผู้ใช้ที่เคยผ่าน Windows 3.1 มาแล้ว
แทบจะเหมือนเดิมทุกอย่าง ความแตกต่างจริงๆ จะอยู่ที่ รูปลักษณ์ และ ลูกเล่น ที่เพิ่มขึ้นมา

พัฒนาการของ Windows 95 ใช้เวลายาวนานกว่า 10 ปี โดยทางบริษัทไมโครซอฟต์ได้ผลิต
ระบบปฏิบัติการออกมาหลายตัว หลายเวอร์ชัน ซึ่งแต่ละกลุ่ม มีกลุ่มเป้าหมายชัดเจน
โดยพอจะสรุปภาพรวมไว้ดังนี้

1. MS-DOS เป็นระบบการ 16 บิตขนาดเล็ก ทำงานแบบทีละงาน หรือ Single Task และรับคำสั่งจากผู้ใช้
ด้วยการคีย์คำสั่งเข้าทีละบรรทัด นอกจากนั้นยังแสดงผล เป็นข้อความล้วนๆ (Text mode มีประวัติการพัฒนา
มายาวนานกว่า 15 ปี เวอร์ชันล่าสุดคือ MS-DOS 6.22 มีผู้นิยมใช้อยู่เป็นจำนวนมาก รวมทั้งโปรแกรมและแอพพลิเคชัน ที่ใช้งานบน MS-DOS ก็มีอีกหลายหมื่นโปรแกม)

2. Windows 3.1 และ Windows 3.11 ระบบปฏิบัติการที่ต้องงานร่วมกับ MS-DOS อีกทอดหนึ่ง
สามารถทำงานแบบหลายๆงาน พร้อมกัน หรือ Multitasking ได้แต่ยังไม่สมบูรณ์แบบ
ใช้วิธีติดต่อกับผู้ใช้ในแบบกราฟฟิก เคยได้รับความนิยมจากผู้ใช้เป็นอย่างสูง รวมทั้งยัง มีโปรแกรม
แอพพลิเคชั่น ดังๆ ให้เลือกใช้งานมากที่สุด เวอร์ชัน 3.1 ต่อมาพัฒนาเป็นเวอร์ชัน 3.11

3. Windows 3.11 for Workgroup เป็นเวอร์ชั่นพิเศษของ Windows 3.11
ที่เพิ่มความสามารถทางด้านเน็ตเวิร์กมากขึ้น เพื่อให้ทำงานร่วมกับกับเครื่องอื่นๆเป็นโครงข่าย
เช่น การใช้ไฟล์และอุปกรณ์เช่น พริ้นเตอร์ ร่วมกันได้ มีผู้นิยมใช้พอสมควร
นอกจากนี้โปรแกรม Windows 3.1 และ Windows 3.11
สามารถนำมารันบน Windows 3.11 for Workgroup ได้ทันที

4. Windows 95 เป็นระบบปฏิบัติการถัดจาก Windows 3.1 โดยไมโครซอฟท์
ได้ออกแบบให้ Windows 95 เป็นระปฏิบัติการ สำหรับเครื่องพีซีเดสก์ท็อปและโน๊ตบุ้ค
มีความสามารถในการใช้งานทางด้านเน็ตเวิร์ก โดยเน้นให้ Windows 95 เป็นลูกข่าย (Client)

5. Windows NT Workstation ระบบปฏิบัติการ 32 บิตแท้ อีกตัวของไมโครซอฟท์
เรียกกันโดยย่อว่า NT สามารถที่จะใช้งานบน คอมพิวเตอร์ได้หลายแบบ
ไม่ว่าจะใช้ CPU ของ Intel หรือ AMD โดยทางไมโครซอฟท์ได้ออกแบบให้
Windows NT Workstation เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้งานกับระบบเน็ตเวิร์กขนาดเล็กถึงขนาดกลาง
เหมาะสำหรับใช้เป็นเครื่องแม่ข่ายหรือเซิร์ฟเวอร์ ( Server ) ในงานธุรกิจ

6. Windows NT Advanced Server หรือเรียกย่อว่า NTAS เป็นเวอร์ชั่นพิเศษของ
Window NT โดยขยายขีดความสามารถ ให้เหมาะสำหรับรองรับงานด้านเน็ตเวิร์กขนาดใหญ่

วินโดวส์ 95 ได้ทำให้ความสามารถการใช้งานผ่านรูปแบบกราฟิคส์ได้สะดวกมากขึ้น
และมีประสิทธิภาพมากกว่าวินโดวส์ 3.1x เดิม โดยหนึ่งในความสามารถหลักที่ใหม่
คือ สตาร์ทเมนู และทาสก์บาร์ ซึ่งทั้งสองอย่างนี้
ยังคงมีให้เห็นในวินโดวส์รุ่นปัจจุบัน
และ File Manager ที่เดิม อยู่ในวินโดวส์ 3.1
ก็ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น Windows Explorer ในวินโดวส์ 95

ข้อมูลจาก
ระบบปฏิบัติการ Windows95 – ระบบปฏิบัติการ Windows (google.com)
วินโดวส์ 95 – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Click to comment

You must be logged in to post a comment Login

Leave a Reply

Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: