Connect with us

On this day

15 สิงหาคม 2490 วันประกาศเอกราชของ อินเดีย จากจักรวรรดิอังกฤษ

Published

on

ภาพจาก Rare Photos Of India’s First Independence Day August 15, 1947 (merepix.com)

หลังจากอยู่ภายใต้อำนาจของจักรวรรดิอังกฤษมายาวนานกว่า 89 ปี
อินเดียก็ประกาศตนเป็นประเทศเอกราช
อย่างเป็นทางการในวันที่ 15 สิงหาคม 2490

กองเรือจากอังกฤษเดินทางมายังอนุทวีปอินเดีย เพื่อแสวงหาสินค้าเพื่อป้อนตลาดในยุโรป โดยสินค้าหลักในยุคนั้นประกอบไปด้วย ผ้าฝ้าย, ผ้าไหม, สีย้อมผ้า, เกลือ, ดินประสิว, ใบชา และฝิ่น
โดยการดำเนินการของ บริษัทอินเดียตะวันออกของบริเตน (British East India Company)
บริษัทนี้เกิดขึ้นจากการร่วมลงทุนระหว่างพ่อค้าและชนชั้นสูงในอังกฤษ รัฐบาลมิได้ถือหุ้นอยู่ในบริษัท
แต่จะช่วยอำนวยความสะดวกในเรื่องต่างๆให้แก่บริษัท เช่น สนับสนุนกำลังทหารและกองเรือปืน
การดำเนินงานของบริษัทมีส่วนแบ่งถึงครึ่งหนึ่ง ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ ของทั้งโลก
สร้างรายได้ในรูปแบบ ภาษี ให้แก่รัฐบาลอังกฤษ อย่างมหาศาล

ภาพวาดอาคารที่ทำการของบริษัท อินเดียตะวันออกแห่งบริติช
ภาพจาก East India House by Thomas Malton the Younger – บริษัทอินเดียตะวันออก – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)

ต่อมา บริษัทอินเดียตะวันออก ก็ค่อยๆมีอิทธิพลกับอนุทวีปอินเดียมากขึ้น จนกระทั่ง
เข้าไปมีส่วนกุมอำนาจในการปกครองอินเดีย โดยอาศัยความร่วมมือกับกลุ่มผู้ปกครองท้องถิ่น
แต่สถานการณ์ก็ไม่ได้ราบรื่นไปทั้งหมด เมื่อประชาชนส่วนใหญ่ยังถูกเอารัดเอาเปรียบ
ทำให้เกิดการต่อต้านการปกครองจากบริษัทฯอยู่เป็นระยะๆ จนนำไปสู่การก่อกบฏครั้งใหญ่ในปี 2400
โดยกลุ่มทหารราบของอินเดีย ความวุ่นวายจากการกบฏ เปิดโอกาสให้รัฐบาลอังกฤษ
ส่งกำลังทหารเข้ามาปราบปราม จนนำไปสู่ การถ่ายโอนอำนาจการปกครองอนุทวีปอินเดีย
จากบริษัทอินเดียตะวันออก ไปเป็นของรัฐบาลอังกฤษเต็มตัว
เป็นการล่มสลายของจักรวรรดิโมกุล หลังจากปกครองอินเดียมานานกว่า 300 ปี

ลอร์ดแคนนิ่ง อุปราชแห่งแคว้นแคชเมียร์แห่งบริติชราช เข้าปรึกษาราชการกับ รันบีร์ ซิงห์ ผู้ครองแคว้นแคชเมียร์และจัมมู
ภาพจาก Return visit of the Viceroy to the Maharaja of Cashmere – British Raj – Wikipedia

นับตั้งแต่ปี 2401 หลังจากที่อินเดีย ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ ซึ่งใช้กุศโลบาย
“แบ่งแยกและปกครอง” โดยสนับสนุนให้ชาวอินเดียที่นับถือศาสนาอิสลาม จัดตั้งสันนิบาตมุสลิม
(Muslim League) เพื่อคานอำนาจกับพรรคคองเกรสของชาวฮินดู เพื่อให้ง่ายในการปกครอง

ยวาฮัรลาล เนห์รูและมหาตมะ คานธี บุคคลสำคัญในการเรียกร้องเอกราชคืนจากอังกฤษ
ภาพจาก Mahatma-Gandhi-and-Jawaharlal-Nehru.jpg (875×583) (news18.com)

70 ปีหลังการถูกปกครองจากอังกฤษ ชาวอินเดียก็ยังถูกเอาเปรียบอยู่เช่นเดิม
เป็นเหตุให้ประชาชนออกมาชุมนุมประท้วง เพื่อยกเลิกกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม
หลังจากการเดินขบวนครั้งใหญ่ในปี 2485 เริ่มมีการเรียกร้องให้อังกฤษปลดปล่อยอินเดีย
ผู้นำอินเดียที่ร่วมต่อสู้เรียกร้องเอกราชในนาม สวราช หรือขบวนการชาตินิยม
ประกอบด้วยบุคคลจากหลายฝ่ายไม่ว่าจะเป็น มหาตมะ คานธี,ยวาฮัรลาล เนห์รู ฯลฯ

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อังกฤษประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ จำเป็นต้องลดค่าใช้จ่ายของประเทศ
พรรคแรงงานของอังกฤษ จึงริเริ่มนโยบายให้เอกราชแก่ ประเทศในอาณานิคมของอังกฤษ
รวมถึง อินเดีย จากนโยบาบดังกล่าวส่งผลให้อินเดียได้รับเอกราช เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2490

ลอร์ดหลุยส์ เมานท์แบตเทนในฐานะอุปราชของอังกฤษ ลงนามคืนเอกราชให้แก่อินเดียและปากีสถาน

อินเดียเป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
ที่มีประชากรมากที่สุดในโลก และสามารถจัดการเลือกตั้งครั้งใหญ่ทั่วประเทศมาได้อย่างต่อเนื่อง

15 สิงหาคมของทุกปี เป็นวันประกาศเอกราชของอินเดีย จะมีการการเชิญธงชาติอินเดียขึ้นหน้าป้อมแดง 
เป็นประเพณีที่ทำเป็นสัญลักษณ์ หลังจากได้รับเอกราชจากอังกฤษ ภาพจาก วันเอกราช (ประเทศอินเดีย) – วิกิพีเดีย (wikipedia.org)

หลังได้รับเอกราช อินเดียยังคงใช้ระบบการเมืองตามแบบอังกฤษ โดยได้จัดให้มีการเลือกตั้ง
นายกรัฐมนตรีคนแรก คือ ยวาฮัรลาล เนห์รู และมีรัฐธรรมนูญที่ร่างโดย ดร.อัมเบดการ์
ประกาศใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2493 ต่อมารัฐบาลอินเดียกำหนดให้วันดังกล่าวเป็นวันชาติ
ภายหลังจากการสถาปนาสาธารณรัฐอินเดีย (Republic Day of India) ได้สมบูรณ์

Continue Reading
Advertisement ad-02-doosoft.jpg
Click to comment

You must be logged in to post a comment Login

Leave a Reply

Advertisement QK6ZtN.png

Copyright © 2022 TOJO.NEWS

%d bloggers like this: