เมื่อคนไทย ผลักดันอาชีพขายบริการ ให้ถูกกฎหมาย
จากการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม เรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือเรื่องของการเปลี่ยนแปลงอาชีพค้าบริการทางเพศให้ถูกกฎหมาย ซึ่งแน่นอนว่าแม้อาชีพนี้อาจจะยังไม่ถูกเป็นที่ยอมรับในสังคมไทยเท่าไหร่นัก แต่ที่ผ่านมาเราก็จะเห็นกลุ่มต่างๆ ได้ออกมาเรียกร้องและเสนอให้เปลี่ยนแปลงกฎหมายนี้มากขึ้น
เมื่อวันที่ 19 กันยายนที่ผ่านมา Empower Foundation กลุ่มสนับสนุนหญิงค้าบริการที่มีสำนักงานในจังหวัดเชียงใหม่ แสดงความหวังรวบรวมรายชื่อให้ได้ 10,000 ชื่อ และยื่นร้องเรียนต่อรัฐสภา เพื่อโน้มน้าวให้บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหลายพิจารณากฎหมายค้าประเวณีของประเทศ โดยมีประชาชนร่วมลงนามสนับสนุนแล้วกว่า 1,000 คน
ซึ่งเรื่องราวดังกล่าวสื่อต่างชาติก็ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะประชากรส่วนใหญ่ในประเทศไทยนั้นนับถือศาสนาพุทธ และมีความอนุรักษ์นิยมสูง แต่ขณะเดียวกันกลับเป็นแหล่งอุสาหกรรมทางเพศที่กว้างขวางและมีชื่อเสียงในหมู่นักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นอย่างมาก
โดยสื่อฮ่องกง “เซาท์ไชน่า มอร์นิงโพสต์” ได้รายงานอีกว่า พวกผู้หญิงและบรรดานักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชน รวมถึงกลุ่มหลากหลายทางเพศ ระบุว่า กฎหมายในปัจจุบัน ซึ่งกำหนดให้การขายบริการทางเพศเป็นสิ่งผิดกฎหมายมาตั้งแต่ปีทศวรรษ 1960 แทบไม่ปกป้องโสเภณีเลย และการถูกจับกุมและปรับเงินซ้ำแล้วซ้ำเล่าฐานขายบริการทางเพศ ยิ่งผลักให้พวกเธอดำดิ่งสู่ความยากจนขัดสนยิ่งขึ้นไปอีก
รายงานของเซาท์ไชน่า มอร์นิงโพสต์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ในรายงานของหน่วยงานต่อสู้กับโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติ ประจำปี 2014 คาดหมายว่ามีหญิงค้าบริการในไทย 123,530 คน แต่กลุ่มเคลื่อนไหวต่างๆ เชื่อว่าตัวเลขที่แท้จริงน่าจะมากกว่านี้เท่าตัว แถมมันยังไม่นับรวมโสเภณีต่างด้าวอีกหลายหมื่นคนจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่า, ลาว, กัมพูชา และเวียดนาม
ปัจจุบันการขายบริการทางเพศจะถูกลงโทษด้วยการปรับเงินสูงสุด 40,000 บาท หรือจำคุก 2 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนบุคคลที่ซื้อบริการทางเพศโสเภณียังไม่บรรลุนิติภาวะมีสิทธิติดคุกสูงสุด 6 ปี
จากข้อมูลของตำรวจไทยพบว่า มีคนถูกจับกุม, ดำเนินคดี และปรับเงิน ในความผิดที่เกี่ยวข้องกับการค้าบริการทางเพศ มีมากกว่า 24,000 คนเมื่อปีที่แล้ว
แม้กระทั้งเวทีการประกวดนางงามอย่าง Miss Universe Thailand 2020 ผู้เข้าประกาศตัวเต็งอย่าง เฌอเอม ชญาธนุส ศรทัตต์ ก็ได้ออกพูดถึงอาชีพโสเภณีหรือหญิงค้าบริการ ว่าควรเป็นอาชีพที่ถูกกฎหมาย โดยเธอให้เหตุผลว่า เพราะว่าอาชีพนี้มีมาตั้งแต่โบราณของไทย และในสมัยก่อนมีการเก็บภาษีจากอาชีพเหล่านี้ไว้สร้างถนน ปัจจุบันยังมีรอาชีพนี้อยู่ ทั้งคนที่เกิดมายากจนคนที่เกิดมาในสังคมโสเภณีผิดที่ คนเหล่านี้ไม่มีโอกาสที่จะมีชีวิตที่ดีขึ้น แต่ขณะเดียวกัน เค้ากำลังทำงานตอบสนองสัญชาติญาณความเป็นธรรมชาติบางอย่างของมนุษย์ ถ้าเรามองว่าเรื่องความต้องการเหล่านี้มันคือเรื่องปกติ การค้าแรงงานเป็นเรื่องถูกกฎหมาย เราก็ควรจะคุ้มครองเค้า เพราะนี่เป็นอาชีพที่มีอยู่ แต่ไม่เคยได้รับการสนับสนุน ที่สำคัญมันเกี่ยวพันธ์กับชีวิต ศักดิ์ศรี และสิทธิ์เสรีภาพของผู้หญิงของผู้หญิง เธอจึงเลือกที่สนับสนุน อาชีพนี้ให้เป็นอาชีพที่ใครพูดถึงแล้วไม่เป็นเชิงลบ
You must be logged in to post a comment Login